Friday, December 29, 2006

เวลาเปลี่ยนตามเงื่อนไข

เมื่อเวลาผ่านไป.....ทุกอย่างก็เปลี่ยน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า อยู่เฉย ๆ มันจะเปลี่ยนกันได้ ทุกอย่างมันก็เปลี่ยนไปตามเงื่อนไขของมันเอง เพียงแต่ว่าเงื่อนไขมันจะซับซ้อนขนาดไหนเท่านั้นเอง
คนเราจึงผ่านกาลเวลามาต่างๆ กัน บางคนอาจจะไม่เข้าถึงการ เปลี่ยนแปลงนั้นหากไม่ได้เข้าใจเงื่อนไขของแต่ละคนนั้น
คนจึงต้องแสวงหาการเข้าใจในทุกสิ่งของการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับ "คน" ด้วยกันเองนั่นแล่ะ
คนที่ไม่เข้าใจกัน ก็เพราะไม่รู้ว่าแต่ละคนมีเงื่อนไขอะไรนั่นเอง เพียงเรารู้เงื่อนไขอะไรบางอย่างของเขา เราก็จะเบาใจขึ้นเยอะเวลาที่จะเริ่มไม่เข้าใจ

Saturday, December 23, 2006

Vygotsky's notion (1)

The Vygotskian view is unique in that thainking is not bound by the individual brain or mind. Instead, the "mind extends beyond the skin" (Wertsch 1991a, 90) and is inseperably joined with other minds. According to Vygotsky's ([1930-1935] 1978) sociocultural theory, cognition is a profoundly social phenomenon. Social experience shapes the way of thinking and interpreting the world available to individuals. And language plays a crucial role in a socially formed mind because it is our primary avenue of communication and mental contact with others, serves as the major means by which social experience is represented psychologically, and is an indispensable tool for thought (Vygotsky [1934] 1987; Leot'ev 1959). Becuase Vygotsky regarded language as a critical bridge between the sociocultural world and individual mental functioning, he viewed the acquisiton of language as the most significant milestone in children's cognitive development.

Sunday, December 17, 2006

เธอกับโลกของฉัน

ถึง....คนที่ผมกำลังจะหักใจใฝ่รัก

มันอาศัยเวลาอยู่ไม่น้อยกว่าเราจะลืมใครสักคน และพยายามไม่เอาเขาเข้ามาเกี่ยวในหัวใจของเราอีก มันเป็นเรื่องยาก
วันหนึ่ง ทุกอย่างมันกลับชัดและบอกตัวเราให้ลืมเขาให้ได้ รู้ไหม วันนั้นมันเจ็บปวดขนาดไหน
แม้จะใช้ความพยายามมากเพียงไหนแล้วก็ตาม สิ่งที่เรียกว่า "ทำใจได้" นั้น มันก็ไม่เคยเป็นจริงสักครั้ง
แม้เธอจะมีน้ำใจอยู่สักนิด ที่ไม่ได้บอกมาตรง ๆ แต่อาการเฉยชาของเธอ ยิ่งกลับทำให้โลกอันแคบของฉันนี้มันไม่น่าอยู่เอาเสียเลย ทำไม ท่าทีอันเฉยชา ของเธอ ทำให้ฉันเจ็บปวดใจเช่นนี้ แม้จะพร่ำบอกตัวเองมาไม่รู้กี่ครั้งแล้ว ว่า ลืมไปเถอะ จริง ๆ ก็โตมาป่านนี้แล้ว กับเรื่องแค่นี้ก็ยังทำใจลำบาก เคยบอกกับตัวเองเสมอว่า วันข้างหน้าของเรามันอีกยาวไกล และสำหรับเขา ก็ไม่ใช่อนาคตของเราหรอก เรายังต้องมีเรื่องที่ต้องทำอีกมาก คนเป็นจำนวนมาก งานอีกเป็นจำนวน ยังรอเราอยู่ คิดอย่างนี้ ถึงจะอยู่ได้ เค้าชอบหาว่าเราขี้งอน แต่ที่แปลก คนที่ง้อกลับเป็นเราทุกครั้งไป
เห็หน้าเขาแล้ว ใจนึงก็นึกชัง ใจนึงก็รัก นึกถึงว่าทำไมเราจึงไปกันไม่ได้

สักวันฉันจะลืมเธอได้ อย่างที่เธอบอก...
ขอแค่เวลาสักหน่อยเท่านั้น
ขออย่างเดียว อย่าเฉยชากับฉันก็พอ เพราะโลกนี้ก็ยังน่าอยู่ อยู่นะ

Friday, December 15, 2006

Thought on Mathematics Education (1)

The revolution in the teaching of mathematics is one of the major discoveries in the history of education thought. It opens up countless possibilities. One of its basic elements is, of course, the modern mathematical sciences, which, in thier varied branches represent (today more than ever before) the ability of the human mind to create a language of symbols that is not tied to the particular and the contingent, but is capable of rising to necessary rational and universal relationships. The same symbolic language is capable of generating endlessly new technical forms. The new mathematics is oriented towards stimulating within the child thinking and inventive capacities for logical investigations. Under the new pedagogy, mathematics serves to promote the human individual, making the student reason with himself, draw on an inner dicipline to confront the most rigorous and demanding symbols and maintain his freedom for logical structures. The new mathematics seek to restore the Platonic pedagogical ideal of the slave who is guided by the teacher to discover for himself a mathematical theorem and to formulate it with discipline and precision. It has no less a goal than the preparation of today's child for a life of dignity in a teachologically biased world which constantly threatens the initiative of free logical thought.

C.C. FERNANDINI

Tuesday, December 12, 2006

วิทยาศาสตร์กับศาสนา

ทำไมเราจึงคิดว่า วิทยาศาสตร์กับศาสนา เป็นคนละเรื่อง วันนี้จึงขอยกคำแปลของไอน์สไตน์ ที่กล่าวถึงเรื่องนี้อย่างเฉียบขาด มาให้เรา ๆ ท่านๆ ทั้งหลายได้อ่านกัน เพื่อจะตอบคำถามที่ว่า พวกที่ทำงานวิจัยกันนี้มีศาสนากันอยู่หรือเปล่า ศาสนาในแง่มุมไหนที่เราเพรียกหากันอยู่

- วิทยาศาสตร์จะได้รับการสร้างสรรค์ขึ้นมาได้ ก็โดยบุคคลที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความใฝ่ปรารถนาต่อสัจธรม และปัญหาที่เข้าใจถึงความจริง นักวิทยาศาสตร์ที่แท้จริงทุกคน มีความเชื่ออย่างลึกซึ้งว่ากฏเกณฑ์ที่กำกับสากลพิภพนี้เป็นสิ่งที่มีเหตุผล และสามารถเข้าใจได้ด้วยเหตุผล

- บุคคลที่ก่อให้เกิดผลสำเร็จในทางสร้างสรรค์ที่ยิ่งใหญ่ในทางวิทยาศาสตร์ทุกคน มีความเชื่อมั่นในศาสนาอย่างแท้จริงว่า สากลจักรวาลของเรานี้เป็นสิ่งท่มีความสมบูรณ์ และสามารถรับรู้ได้ด้วยกรแสวงหาความรู้อย่างมีเหตุผล ซึ่งเป็นความรู้สึกอันแรงกล้าที่ทำให้เกิดความมุ่งมั่นอุทิศตนอย่างไม่ละละ และความมุ่งมั่นอุทิศตนนี้อย่างเดียวแท้ๆ ที่ทำให้คนสามารถบรรลุผลสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ของเขาได้

- ในยุควัตถุนิยมของเราทั้งหลายนี้ ผู้ทำงานทางวิทยาศาสตร์อย่างเอาจริงเอาจัง เป็นคนจำพวกเดียวเท่านั้นที่มีศาสนาอย่างลึกซึ้ง

- วิทยาศาสตร์เป็นการคิดอย่างมีระเบียบวิธี ในกรค้นหาความสัมพันะอย่างมีกฏเกณฑ์ ระหว่างประสบการณ์ทางประสาทสัมผัส วิทยาศาสตร์พยายามใช้วิธีคิดอย่างเป็นระบบ ประมวลปรากฏการณ์เท่าที่รับรู้ได้ในโลกนี้ ให้เข้ามาอยู่ภายในความสัมพันธ์อันทั่วตลอดถึงกันหมด เท่าที่จะเป็นไปได้ โดยมีเป้าหมายที่จะวางกฏเกณฑ์ทั่วไป ซึ่งกำหนดความสัมพันธ์ต่อกัน ระห่างวัตถุและเหตุการณ์ทั้งในกาละเทศะ หรือพูดอีกอย่างหนึ่งว่า มีจุดมุ่งหมายที่จะค้นพบกฏเกณฑ์ ซึ่งทำให้สามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์แห่งขอ้เท็จจริงต่างๆ ตลอดจนทำนายความเป็นไปได้ของสิ่งเหล่านั้นได้ คือพยายามประสานสิ่งหลากหลาย ให้โยงเข้าเป็นหน่วยรวมหนึ่งเดียว อย่างเป็นเหตุเป็นผล

- ส่วนศาสนานั้นว่าด้วยจุดหมายปลายทาง(แห่งความใฝ่ปรารถนาของมนุษย์) การกำหนดคุณค่า(แห่งการคิด และการกระทำของมนุษย์) พร้อมทั้งรากฐานทาง
อารมณ์แห่งความคิด และการกระทำของมนุษย์นั้น ในที่นี้ ตัวความปรารถนาที่จะเข้าถึงจุดหมายปลายทาง หรือการใฝ่ปรารถนารู้แจ้งสัจธรรมต่างๆ เป็นความรู้สึกทางศาสนาทั้งนั้น ศาสนาตั้งจุดหาย พร้อมทั้งคุณค่าที่สอดคล้องกับจุดหมายขึ้นมา แล้วการตั้งจุดหมาย พร้อมทั้งคุณค่าที่สอดคล้องกับจุดหมายนั่นแล่ะ ที่ทำให้ชีวิตและกิจกรรมของเรามีความหมาย

- วิทยาศาสตร์เกิดขึ้นได้ โดยเป็นการสร้างสรรค์ของคนที่เต็มเปี่ยมด้วยความใฝ่ปรารถนาต่อสัจธรรม และปัญญาซึ่งเป็นความรู้สึกที่เกิดจากศาสนา ส่วนศาสนานั้นก็เปลื้องมนุษย์จากพันธนาการแห่งตัณหา และศาสนาที่แท้ก็ถูกทำให้ประเสริฐ และลึกซึ้งยิ่งขึ้นด้วยความรู้ทางวิทยาศาสตร์

- Science without religion is lame,
religion without science is blind. (p.46)

วิทยาศาสตร์ไร้ศาสนาก็เหมือนคนขาเป็นง่อย ส่วนศาสนาที่ไร้วิทยาศาสตร์ก็เหมือนคนตาบอด


อ้างอิงจาก
พระธรรมปิฏก (2541). การศึกษา : เครื่องมือพัฒนาที่ยังต้องพัฒนา. กรุงเทพฯ :มูลนิธิพุทธธรรม.

Sunday, December 10, 2006

High Quality Research

แม้ว่าช่วงนี้จะเฉี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึกของคนอยู่ไม่น้อย แต่ก็พยายามที่จะไม่เอามาเป็นสรณะ เนื่องจากรู้ตัวเองดีว่า ถ้าเอาตัวเองเข้าไปพัวพันแล้ว จะเป็นอย่างไร ก็เลย เลือกที่จะจัดอันดับความสำคัญของเรื่องที่เข้ามาในชีวิตเสียใหม่...

เห็นคนอื่นที่เห็นอะไรแล้วมีอารมณ์ไปซะหมด ก็พลอยเศร้าใจไปกับเขาด้วย พลันบอกกับตัวเองว่า เฮ่ย ยังมีเรื่องหนักที่ต้องมากกว่านี้อีกเยอะ อย่าไปยุ่งเลย ให้ทำก็ทำได้ แต่ไม่ยุ่งเท่านั้นเอง ขอเข้าร่วมแบบไม่มีอารมณ์ แต่ไม่ใช่เข้าร่วมแบบไม่มีอารมณ์ร่วม

อะไรที่เป็นวัตถุ ก็จะคิดว่าเป็นวัตถุ .... นาน ๆ ทีค่อยไปคิดว่าอะไรเป็นอารมณ์บ้างก็ดี ชีวิตจะมีความสุขขึ้น ที่คิดอย่างนี้ ก็เพราะ คนเราไม่เหมือนกัน จะมาให้ทุกคนคิดเหมือนที่ตัวเองคิด ตัวเองก็เป็นบ้าไปแล้วล่ะอย่างนั้น

วันนี้ผมขอนำเสนอเรื่องที่เป็นวิชาการสักหน่อย เดิมที่เดียวไอ้ที่ผมจะนำเขียนเนี่ย ผมเคยแปะไว้ข้างฝาห้องที่ตอนนี้กำลังเตรียมตัวเป็นห้องสมุด แต่ก็พบว่ามันคือกระดาษแผ่นโต ๆ แผ่นหนึ่งที่มีคุณค่าเฉพาะคนที่เขียนเท่านั้นเอง ก็เลยเก็บมาไว้ที่ blog อ่านเองก็ได้(วะ)
อ่านแล้วเตือนตัวเองอยู่ได้ตลอดเวลา

"High Quality research entails a set of practices that depend on the use of a complex combination of knowledge, beliefs, experiences, and habits of mind, yet discussions of the preparation beginning researchers often focus instead on debates about the neccessary base of professional knowledge."

"การวิจัยที่มีคุณภาพสูงประกอบไปด้วยวิถีปฏิบัติต่างๆ ที่ขึ้นอยู่กับการใช้องค์รวมอย่างซับซ้อนของความรู้ ความเชื่อ ประสบการณ์ และนิสัยอันเป็นคุณลักษณะ แต่กระนั้นการกล่าวถึงการเตรียมตัวของนักวิจัยมือใหม่ก็มักจะเน้นไปที่การโต้เถียงเกี่ยวกับความจำเป็นและความสำคัญของฐานความรู้ในเชิงวิชาชีพ"

สิ่งที่ติดอยู่กับการอ่านประโยคยาวๆ ประโยคนี้คือการที่สอดคล้องกับการที่อาจารย์ไมตรีได้พูดถึงอยู่เสมอเกี่ยวกับการวิจัย ว่าไม่ใช่เพียงแค่การเขียนอะไร ๆ ขึ้นมาสักอย่างแล้วก็จบ แต่นั่นหมายถึงการพัฒนาคนขึ้นมาให้เป็นนักวิจัยนั้นมันเป็นคนละเรื่อง การทำวิจัยต้องอา
ศัยองค์ประกอบต่างๆ แทบจะเรียกว่ามันคือทั้งชีวิตที่อุทิศเพื่อการทำวิจัย การก่อตัวขึ้นมาของทั้งความรู้ ความเชื่อ ประสบการณ์ และ habits of mind ล้วนอาศัยประวัติศาสตร์ของการเอาตัวเองเข้าไปมีส่วนร่สม และเรียนรู้ พร้อมกับการที่พยายาม reflectกับสิ่งที่ตัวเองเข้าไปเกี่ยวข้องเสมอ การสังเกตตัวเอง สังเกตผู้อื่น ว่ากำลังทำไรอะไรอยู่เพื่อมาสะท้อนผลเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนา

อาจารย์เน้นย้ำเสมอมาว่าระบบบัณฑิตศึกษาของบ้านเรายังขาดสิ่งที่กล่าวมาถึงนี้ทั้งหมด
ไม่มีใมครหรอกที่จะช่วยแก้ไขได้ นอกเสียจากที่นั่งกันอยู่ต่อหน้านี้

Sunday, December 3, 2006

วันที่แสนง่วง

เมื่อคืนทำเป็นขยัน แต่ก็ขยันจริงแล่ะ เพราะก็ได้การได้งานอยูไม่น้อย แต่วันนี้ครับ พอเรีนนช่วงบ่ายเสร็จ พรรคพวกพากันไปกิน ข้าวเหนียวส้มตำ ผมเป้นพวกชอบข้าวเหนียว แต่แพ้ข้าวเหนียว ด้วยความหิว ประกอบกับความที่มันอร่อยมาก คนกินกฌยอะ 12 คนแน่ะครับ บรรยากาศมันพาไป ไม่รู้ว่ามันหมดไปกี่จานก็ไม่รู้ ครับ แต่พอมาถึงที่คณะ มาห้องทำงานประจำของผม เปิดคอม แปลงานได้ไม่เท่าไหร่ ก็หลับซบคอมพิวเตอร์ไปซะงั้น หลับแบบ ลุกไม่ขึ้น

อาการเดิมคับ เรียกว่าอาการแพ้ข้าวเหนียว (โทษข้าวเหนียวอีกต่างหาก)หลับไป เกือบสามชั่วโมง ไม่ได้การได้งานครับ ไร้สาระจริงๆ เลยเรา

วันนี้เรียน reformulation ของ mathematics curriculum ของประเทศญี่ปุ่น ถ้าหายง่วงจริงๆ แล้วจะมาเขียนเล่าให้อ่าน ได้ใจจริงๆ

Saturday, December 2, 2006

การมองโลก

การมองโลก เป็นเรื่องสำคัญขนาดไหน เรา ๆ ท่านๆ รู้ไหมครับ

พูดง่ายๆ ก็พอจะบอกด้อยู่ว่า เราก็มองโลกกันนี่นาทุกวันนี้หากตาไมได้บอดกันไปเสียก่อน

พูดอย่างนี้ก็เสี่ยงอยู่หน่อยนึงตรงที่ว่า งั้นคนที่ตาบอด ก็ไม่มีสิทธิมองโลกหรือ

งั้นถ้าพูดอย่างนี้การมองโลกของคนเราก็ไม่ได้ขึ้นอยู่ตาดี หรือตาไม่ดี

การมองโลกมันอยู่ที่ไหนกันแน่

งั้น ก็ลองมาดูตัวอย่างกัน

ห้องเรียนห้องหนึ่ง จะว่าไป ก็น่าจะดูว่าเป็นห้องเรียนธรรมดาห้องหนึ่ง

ครูประจำชั้นแสนงาม นามเพราะ "ครูสารภี" สอน ป.1 มานานกว่า 7 ปีแล้วหลังเธอบรรจุอยู่โรงเรียนเทศบาลแห่งหนึ่ง

เธอมักบอกกับตัวเองเสมอว่า เด็กก็คือเด็ก ยังไงยังไงก็ต้องบอก ต้องสอน เธอมักคิดอยู่เสมอว่าเธอคือผู้ให้ความรู้ ดังนั้น ความรู้ของเธอจึงสำคัญนัก ถ้อยคำของเธอล้วนแล้วศักดิสิทธิ์ ภาษาและสัญลักษณ์ที่เธอใช้ เธอก็มักจะคาดหวังว่า เด็กของเธอจะใช้ภาษาและสัญลักษณ์อย่างที่เธอต้องการเห็น

(พบตอนต่อไปพรุ่งนี้ครับ)