Monday, November 5, 2007

Reform-oriented classroom

ในวันสัมมนาของสาขาวันเสาร์ที่ผ่านมานี้ มีการนำเสนอ paper ที่น่าสนใจอยู่เรื่องหนึ่งจาก Handbook of Internatonal Mathematics Eduction ในบทที่ 13 เรื่อง Teacher Learning : Implication of New Views of Cognition โดยผู้เขียนเรื่องนี้ก็คือ Ralph T. Putnam, Hilda Borko

อ่านแล้วผมตื่นเต้นแทบเป็นบ้าเอา เพราะเฉพาะช่วงเกริ่นนำก็แทบเอาหัวใจของผมวายปรานเข้าอยู่แล้ว เพราะเป็นเรื่องที่เราไม่เคยใส่ใจ และไม่เคยค้นหาความหมายของมัน วิถีปฎิบัติในการสอนบ้านเราตรงข้ามกับสิ่งที่นำเสนอมาทั้งหมด ที่ขนลุกก็คือบริบทชั้นเรียน หรือวิถีปฏิบัติของห้องเรียนที่ชุมชนผมกำลังศึกษากันอยู่นี้สอดคล้องกับที่ ผู้เขียนนำเสนอไว้ทั้งสิ้น ลองพิจารณาดูนะครับ

บทความเริ่นต้นจากการกล่าวถึง current educational reform ใน สหรัฐอเมริกา เขาตั้งเป้าไว้อย่างน่าสนใจดังนี้
" Schools and teachers are to help students develop rich understandings of important content, think critically, construct and solve problems, synthesize information, invent, create, express themselves proficiently, and leave school prepared to be responsible citizens and livelobg learners. "

การกล่าวถึงการปฎิรูปที่มุ่งเน้นที่ลักษณะเฉพาะของการรู้ (cognition) แบบนี้ มีน้อยมากนะครับที่บ้านเราจะพูดกัน....เราพูดทุกเรื่องที่ข้ามพ้นตัวเด็กโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับ cognition

ใน paragraph ถัดมา ผู้เขียนยกแง่มุมของ Linda Anderson (1989a) ที่กล่าวถึง 5 มิติที่เป็นประโยชน์อย่างมากที่ทำให้เห็นความต่างออกไปจากแนวคิดของลักษณะของการสอนและการเรียนรู้ที่นักปฏิรูปที่ยังคงมีแนวคิดแบบเดิมๆ ที่เน้นทักษะพื้นฐาน แนวทางการสอนแบบ direct-instruction จะนำลงไปสู่ระบบโรงเรียน Anderson ได้โต้แย้งว่า แม้ว่าจะมีตัวแปรมากมายท่ามกลางห้องเรียนและครู แต่ก็วิสัยทัศน์ของการเรียนการสอนที่นำเสนอนี้ก็แตกต่างจากห้องเรียนทั่วๆ ไปในทุกแนวทาง
ชั้นเรียนแห่งการปฏิรูป (Reform-oriented classroom) มองได้ 5 มิติดังนี้
1. Academic goals focus on the 'development of "expertise" that is demonstrated through strategic and flexible (i.e., decontexualized) use of knowledge " versus 'recall of facts and context-specific application of skills'
เป้าหมายในเชิงการศึกษามุ่งเน้นไปที่ การพัฒนาความเชี่ยวชาญ ที่แสดงได้ด้วยการใช้ความรู้ได้อย่างมียุทธวิธีและมีความยืดหยุ่น ซึ่งตรงข้ามกับการระลึกหรือเรียกเอาข้อเท็จจริงออกมาและบริบทของการนำไปใช้ที่มีความเฉพาะเจาะจงกับทักษะต่างๆ
2. The Teacher's most important role is seen 'as mediating learning as it is constructed by stuents' rather than as 'conveying information to students.'
บทบาทที่สำคัญที่สุดของครู จะเห็นได้จากการผสมผสานหรือผนวกเอา(mediating-เป็นศัพท์ทางวิชาการที่มีความสำคัญมาก ซึ่งคนที่นำเสนอคำนี้ก็คือ Vygotsky)การเรียนรู้(หรือวิธีคิด)ที่สร้างขึ้นมาจากนักเรียน(เพื่อให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ปัญหา) มากกว่าที่จะเห็นเป็นการชักจูงหรือโน้มน้าว หรือการส่งผ่านข้อมูลให้กับนักเรียน
3. Students play the role of 'active constructor of meaningful cognitive networks that are during problem solving' rather than 'that of receptor[s] of information to be applied directly to practice activities.'
นักเรียนแสดงบทบาทเป็นผู้สร้างเครือข่ายเชิงการรู้ที่มีความหมายอย่างกระตือรือร้น มากกว่าการเป็นตัวรับข้อมูลที่จะเอาไปใช้ในกิจกรรมในทางปฏิบัติได้ตรงๆ
(จุดนี้เราเห็นจนคุ้นเคยในห้องเรียนแบบไทยๆ ของเราที่เด็กเป็นคอบรับข้อมูล กระทั่งยุทธวิธเพื่อเอาไปใช้ในการแก้ปโจทย์อะไรสักอย่าง อย่างดีที่สุด ก็คิดตามครูให้ทัน-ใครคิดตามครูไม่ทันก็นะ..โง่ไปเลย) นักเรียนไม่เคยได้ลิ้มลองการเป็นผู้สร้างความรู้อะไรเลย นานวันเข้าก็ชาชิน หลงคิดว่านั่นเป็นวิถี เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ก็คิดไม่ต่าง ไม่อาจหาความรู้ได้ด้วยตนเอง จึงง่ายต่อการนำพาไปสู่วิถีบริโภคนิยมอย่างบ้าคลั่ง...ก็เห็นกันดีอยู่ทุกวันนี้)
4. Academic Tasks 'require students to define and represent problems and transform existing knowledge in one of many possible solutions' rather than serving as 'sites for application of arithmic procedures to problems with single correct answers.'
งานหรือปัญหาในเชิงวิชาการมีไว้เพื่อให้นักเรียนได้นิยามและแสดงปัญหาและย้ายหรือแปลงรูปเอาความรู้ที่เขามีอยู่ในทุกๆ วิธีการแก้ปัญหาที่จะเป็นไปได้ มากกว่าการมีไว้เพื่อเป็นแหล่งของการประยุกต์ใช้ของกระบวนการในเชิงขั้นตอนกับปัญหาที่มีคำตอบที่ถูกต้องเพียงคำตอบเดียว
5. Social environments may present conditons in which failure is accepted as a part of learning, self -regulation or cognition is valued more than other-regulation, and other students are viewed as resources for learning' rather than 'conditions in which failure has social consequences, the source of cognitive regulation is external to the student, and other students are viewed as hindrances to learning'
สิ่งแวดล้อมทางสังคมอาจจะแสดงถึงเงื่อนไขต่างๆ ที่ซึ่งความผิดพลาดเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ในแง่ของการเป็นการคอยควบคุมตนเอง หรือเป็นการรู้ตนเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกให้คุณค่ามากกว่าการการควบคุมคนอื่นหรือจากคนอื่น ซึ่งในลักษณะนี้เองถูกมองว่าเป็นว่าเป็นทรัพยากรต่างๆ สำหรับการเรียนรู้ มากกว่าเป็นเงื่อนไขที่ซึ่งความผิดพลาดนั้นจะมีผลลัพธ์ทางสังคมตามมา ซึ่งถือว่าแหล่งของการควบคุมการรู้นั้นเป็นสิ่งที่อยู่ภายนอกตัวเด็กนักเรียน ซึ่งนักเรียนคนอื่นก็มองว่านั่นเป็นปัญหาหรืออุปสรรคของการเรียนรู้
- ประเด็นที่พูดอยู่นี้คือ ความผิดพลาดที่เกิดขึ้น ในห้องเรียนไทยโดยทั่วไปก็มองว่าเป็นตัวถ่วง(ความเจริญ) ในขณะที่ Anderson กลับมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ที่ทำให้ผูเรียนเอาความผิดพลาดนั้นมาเป็น ตัวคอยกำบับวิคิดของตนเอง ในอีกศัพทือีกคำหนึ่งที่น่าจะเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้อยู่คือ metacognition
5 มิติที่กล่าวไปทั้งหมดนั้นช่างห่างไกลกับบริบทชั้นเรียนไทยที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ แล้วอย่างนี้จะไม่คิดว่าชั้นเรียนไทยเรามีปัญหาอีกหรือ แน่นอนว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นไม่ได้ตามใจเรา แต่ก็มีปัจจัยต่างๆ ทั้งในเชิงเวลา ทรัพยากร โดยเฉพาะกับวิธีคิดของเรา เข้ามาเกี่ยวข้องต่อการเปลี่ยนแปลงชั้นเรียนของเราเอง เรื่องหลักๆ ที่ต้องเปลี่ยนแปลง(อย่างน้อย) ก็คือความรู้ (knowledge) ความเชื่อ (belief) และการลงมือทำในภาคปฏิบัติ(practice)
คำถามก็คือแล้วจะเปลี่ยนได้อย่างไรล่ะ ????
ในpaper เขียนไว้อย่างหนักแน่นมากว่า ในการที่จะเปลี่ยนแปลงนั้น ครูจะต้อง must reflect deeply and critically on thier own teaching practices, on the content they teach , and on the experiences and backgrounds of the learners in thier classroom.
ครูจะต้องสะท้อน(1)วิถีการสอนของตนเอง (2) เนื้อหาที่เขาสอน และ (3) ประสบการณ์และภูมิหลังของนักเรียนในห้องเรียนของตนเองอย่างลึกซึ้งและอย่างพินิจพิเคราะห์วิพากษ์
แค่นี้ก็ทำให้ครูเราทั้งหลายอยู่ไม่เป็นสุขแล้วครับ เพราะเราไม่เคยใช้การ reflect กับเรื่องที่เราทำอยู่ในห้องแม้แต่เรื่องเดียว เราอาจจะสะท้อนเรื่องเด็กอยู่บ้างแต่ก็เป็นเรื่องกายภาพของเด็กล้วนๆ แต่เราไม่เคยได้สะท้อนวิธีคิดของเด็กผ่านบริบทต่างทั้งสามข้ออย่างที่นำเสนอไปข้างต้นนี้เลยสักครั้งเดียว
อย่าไปมัวเห็นเรื่องอื่นว่าเป็นปัญหาการศึกษาของไทยเลยครับ ทั้ง ๆ ปัญหาที่ลึกซึ้งที่สุด เราจับมันอยู่กับมือนั่นไงล่ะครับ