The central fact about our psychology is the fact of mediation.(Vygotsky, 1982:166)
Monday, May 14, 2007
Seven "Truths" About Cognitive Development
Seven truths about cognituve development, Diversity of Opinions, but a single science.
1. Cognitive development proceeds through the dynamic and reciprocal transaction of a child's biological constitution(including genetics) and his or her physical ans social environment(including culture).
การพัฒนาเชิงการรู้ดำเนินไปตามเส้นทางที่มีความเป็นพลวัตรและเกิดขึ้นอย่างพร้อม ๆ กันของการสร้างขึ้นในเชิงชีววิทยา(ทั้งนี้รวมไปถึงในเชิงพันธุกรรม)ของเด็กและ สภาพแวดล้อมในเชิงกายภาพและทางสังคมของเด็ก (ทั้งนี้รวมไปถึงวัฒนธรรมด้วย)
2. Cognitive developmentt is a constructive process, with children playing an active role in the constructions of thier own minds.
การพัฒนาเชิงการรู้เป็นกระบวนการในเชิงการสร้าง ด้วยการที่เด็กมีบทบาทอย่างมากในการสร้างในจิตคใจของเขาเอง
3. Cognition is multifaceted, and different cognition skills show different patterns of developmental function and stability of individual differences.
การรู้มีหลายแง่มุม มีความซับซ้อน และทักษะการรู้ต่างๆ ที่แตกต่างกันแสดงถึงรูปแบบที่แตกต่างกันของหน้าที่ในเชิงพัฒนาการและความคงที่ของความแตกต่างของแต่ละคน
4. Cognitive development involves changes in both domain-general and domain-specific mechanisms.
การพัฒนาเชิงการรู้เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทั้งในกลไกแบบ domain-general และ domain-specific
5. Cognitive development involves changes in the way information is represented, although children of every age posses a range of ways in which to represent experiences.
การพัฒนาเชิงการรู้เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงในแนวทางที่ข้อมูลได้ถูกนำเสนอ แม้ว่าเด็กในทุก ๆ ช่วงวัยจะมีช่องทางมากมายที่ซึ่งจะนำเสนอประสบการณ์ต่างๆ
6. Backgroud knowledge, or knowledge base, has a significant influence on how children think.
ความรู้อันเป็นภูมิหลัง หรือ ฐานความรู้ มีอิทธิพลอย่างชัดเจนต่อการที่เด็กจะคิดได้อย่างไร
7. Children's problem solving becomes increasingly strategic with age; children have a broad selection of strategies to choose from, and they become more effective with age in thier selection and monotoring of problem-solviong strategies.
การแก้ปัญหาของเด็กจะมียุทธวิธีที่เพิ่มขึ้นตามอายุ เด็ก ๆ จะมีช่องทางในการเลือกยุทธวิธีที่มากในการเลือกที่จะนำมาใช้ และยุทธวิธีเหล่านั้นก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้นเรื่อยๆ ตามอายุในการเลือกสรรและการควบคุมตรวจตรายุทธวิธีต่าง ๆ ในการแก้ปัญหานั้นด้วย
Reference
Bjorklund, D.F.(2005). Children's Thinking : Cognitive Development and Individual Difference.US: Thompson Learning,Inc.
Subscribe to:
Posts (Atom)