แม้ว่าช่วงนี้จะเฉี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึกของคนอยู่ไม่น้อย แต่ก็พยายามที่จะไม่เอามาเป็นสรณะ เนื่องจากรู้ตัวเองดีว่า ถ้าเอาตัวเองเข้าไปพัวพันแล้ว จะเป็นอย่างไร ก็เลย เลือกที่จะจัดอันดับความสำคัญของเรื่องที่เข้ามาในชีวิตเสียใหม่...
เห็นคนอื่นที่เห็นอะไรแล้วมีอารมณ์ไปซะหมด ก็พลอยเศร้าใจไปกับเขาด้วย พลันบอกกับตัวเองว่า เฮ่ย ยังมีเรื่องหนักที่ต้องมากกว่านี้อีกเยอะ อย่าไปยุ่งเลย ให้ทำก็ทำได้ แต่ไม่ยุ่งเท่านั้นเอง ขอเข้าร่วมแบบไม่มีอารมณ์ แต่ไม่ใช่เข้าร่วมแบบไม่มีอารมณ์ร่วม
อะไรที่เป็นวัตถุ ก็จะคิดว่าเป็นวัตถุ .... นาน ๆ ทีค่อยไปคิดว่าอะไรเป็นอารมณ์บ้างก็ดี ชีวิตจะมีความสุขขึ้น ที่คิดอย่างนี้ ก็เพราะ คนเราไม่เหมือนกัน จะมาให้ทุกคนคิดเหมือนที่ตัวเองคิด ตัวเองก็เป็นบ้าไปแล้วล่ะอย่างนั้น
วันนี้ผมขอนำเสนอเรื่องที่เป็นวิชาการสักหน่อย เดิมที่เดียวไอ้ที่ผมจะนำเขียนเนี่ย ผมเคยแปะไว้ข้างฝาห้องที่ตอนนี้กำลังเตรียมตัวเป็นห้องสมุด แต่ก็พบว่ามันคือกระดาษแผ่นโต ๆ แผ่นหนึ่งที่มีคุณค่าเฉพาะคนที่เขียนเท่านั้นเอง ก็เลยเก็บมาไว้ที่ blog อ่านเองก็ได้(วะ)
อ่านแล้วเตือนตัวเองอยู่ได้ตลอดเวลา
"High Quality research entails a set of practices that depend on the use of a complex combination of knowledge, beliefs, experiences, and habits of mind, yet discussions of the preparation beginning researchers often focus instead on debates about the neccessary base of professional knowledge."
"การวิจัยที่มีคุณภาพสูงประกอบไปด้วยวิถีปฏิบัติต่างๆ ที่ขึ้นอยู่กับการใช้องค์รวมอย่างซับซ้อนของความรู้ ความเชื่อ ประสบการณ์ และนิสัยอันเป็นคุณลักษณะ แต่กระนั้นการกล่าวถึงการเตรียมตัวของนักวิจัยมือใหม่ก็มักจะเน้นไปที่การโต้เถียงเกี่ยวกับความจำเป็นและความสำคัญของฐานความรู้ในเชิงวิชาชีพ"
สิ่งที่ติดอยู่กับการอ่านประโยคยาวๆ ประโยคนี้คือการที่สอดคล้องกับการที่อาจารย์ไมตรีได้พูดถึงอยู่เสมอเกี่ยวกับการวิจัย ว่าไม่ใช่เพียงแค่การเขียนอะไร ๆ ขึ้นมาสักอย่างแล้วก็จบ แต่นั่นหมายถึงการพัฒนาคนขึ้นมาให้เป็นนักวิจัยนั้นมันเป็นคนละเรื่อง การทำวิจัยต้องอา
ศัยองค์ประกอบต่างๆ แทบจะเรียกว่ามันคือทั้งชีวิตที่อุทิศเพื่อการทำวิจัย การก่อตัวขึ้นมาของทั้งความรู้ ความเชื่อ ประสบการณ์ และ habits of mind ล้วนอาศัยประวัติศาสตร์ของการเอาตัวเองเข้าไปมีส่วนร่สม และเรียนรู้ พร้อมกับการที่พยายาม reflectกับสิ่งที่ตัวเองเข้าไปเกี่ยวข้องเสมอ การสังเกตตัวเอง สังเกตผู้อื่น ว่ากำลังทำไรอะไรอยู่เพื่อมาสะท้อนผลเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนา
อาจารย์เน้นย้ำเสมอมาว่าระบบบัณฑิตศึกษาของบ้านเรายังขาดสิ่งที่กล่าวมาถึงนี้ทั้งหมด
ไม่มีใมครหรอกที่จะช่วยแก้ไขได้ นอกเสียจากที่นั่งกันอยู่ต่อหน้านี้
No comments:
Post a Comment