Sunday, March 11, 2007

วิธีวิทยา

Professor อานันท์ กาญจนพันธุ์ จากคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เขียนหนังสือเล่มหนึ่งที่ผมกำลังถืออ่านอยู่นี้คือ ทฤษฎีวิธีวิทยาของการวิจัยวัฒนธรรม : การทะลุกรอบและกับดักของความคิดแบบคู่ตรงข้าม เป็นหนังสือที่อยู่ในfield ทางสังคมวิทยามานุษยวิทยา ที่ผมว่าแนวคิดนั้นชัดเจนและคอบคลุมเป้นต้นแบบความคิดทางการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้ทั้งหมด การกล่างถึง modernism กับ postmodernism ที่มีผลต่อวิธีคิดของการทำวิจัย นั้นดุเด็ด และให้สาระที่ต้องคิดไล่กันทีละตัวอักษร ไล่กันที่ละประโยคต่อประโยค

ผมอ่านได้ไม่นาน อยู่แถว ๆ สองสามบทแรก ก่อนที่จะลืมเลือน ผมก็ขอ reflect กับสิ่งที่ได้อ่าน หัวข้อที่ผมพูดถึง อยู่ในเร่อง ทฤษฎีในฐานะที่เป็นวิธีคิด
  • ในแนวความคิดหลังสมัยใหม่นิยม ทฤษฎีไม่ใช่คำตอบสำเร็จรูป ทฤษฎีไม่ใช่ทฤษฎีสากล ทฤษฎีในความเข้าใจของอาจารย์อานันท์นั้นมีลักษณะเป็นการเสริมวิธีคิดมากกว่า พูดง่าย ๆ ทฤษฎีหลังสมัยใหม่นิยมเขาไม่สนใจให้คำตอบ คำตอบนั้นเป็นเรื่องของเรา ปัญหาอยู่ที่ว่าเรามีวิธีคิดและมุมมองที่จะสร้างความเข้าใจเหล่านั้นหรือเปล่า เพราะสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปมีความหลากหลายซับซ้อนอย๔มาก ถ้าเราให้คำตอบที่ฟันธงไปเลย ก็อาจผิดที่ผิดทาง ประเด็นจึงอยู่ที่ว่า เรามีความคิดหรือเครื่องมือทางความคิด ซึ่งพร้อมที่จะนำไปทำความเข้าใจต่อความเคลบื่อนไหวที่เปลี่ยนแปลงอย่างสับซับซ้อนในยุคสมัยใหม่ได้เพียงพอหรือไม่
  • ทฤษฎีในยุคหลังสมัยใมห่จึงไม่ใช่เรื่องคำตอบ แต่เป็นเรื่องวิธีคิด นั่นก็คือ ทฤษฎีเป็นเรื่องของวิธีคิด การวิจัยก็ไม่ใช่เรื่องของเทคนิควิธี เรื่องที่จะเก็ยอะไรอย่างไร ไม่ใช่ปัญหา แต่ปัญหาเริ่มจากที่ว่าเมื่อคุณมีวิธีคิดแล้วก็ต้องรู้จักวิธีใช้ ปัญหาของวิธีคิดคือเราจะต้องมีวิธีวิทยาในการใช้วิธีคิดเหล่านั้น เพราะไม่ใช่เพียงเทคนิควิธี
  • เทคนิควิธี กับวิธีวิทยานั้นไม่เหมือนกัน ในภาษาอังกฤษก็ใช้ต่างกัน ระเบียบวิธีวิจัยใช้คำว่า methodology แต่วิธีวิทยาใช้ conceptualization ซึ่งหมายถึงวิธีวิทยาของการเชื่อมโยงความคิด
  • วิธีวิทยาเป็นความพยายามที่จะโยงแนวความคิดต่างๆ เพื่อนำกไปใช้ในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปหรือเคลื่อนไหวอยู่ เพราะว่าปัยหาทางสังคมและปัญหาของมนุษย์ไม่ใช่สิ่งที่หยุดนิ่งตายตัวที่เราจับต้องได้ แต่เป็นกระบวนการที่เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ถ้าวิธีการเราหยุดนิ่ง หรือมุมมองเราหยุดนิ่ง เพราะคิดว่ามีคำตอบอยุ่แล้ว ก็จะไมได้อะไรเลย แต่เถ้าเราคิดว่าเราไม่มีคำตอบอะไร เรารู้เพียงว่าเราจะมองปัญหานี้อย่างไร มีวิธีคิดอย่างไร แล้วก็จะพยายามที่จะเสริมสร้างวิธีวิทยา คือพยายามจัดระบบ จัดความเชื่อมโยงในการทำความเข้าใจเท่านี้อาจช่วยเราในการใช้ศึกษาวิจัยมากกว่า

Metaphor ข้ามาที่สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษาของเราเอง อาจารย์ไมตรี พูดเรื่องเดียวกันกับอาจารย์อานันท์พูดเลย อาจารย์พูดเรื่องการ หลุดกรอบแนวคิดเกี่ยขกวับการวิจัยด้วยการพูดถึงเร่องเรื่องวิธีคิดนี้มาตั้งแต่แรกที่รู้จักอาจารย์

อาจารย์ไม่สนใจว่าจะใช้วิธีการอย่างไร เครื่องมือจะแพงขนาดไหน แต่ถ้าเรามีวิธีคิดที่จะจัดการกับสิ่งเหล่านั้น เราก็จะสามารถที่เรียนรู้กับสิ่งที่เรากำลังทำเอง โดยไม่ต้องสนใจหรอกว่าคำตอบจะเป็นอย่างไร

แล้วยิ่งกับปรากฏการณ์ในชั้นเรียนที่ถือเป็นหน่วยวัฒนธรรมที่เล็กที่สุดที่ครูเผชิญอยู่ก็มีความสลับซับซ้อนมากมาย ครูมักเพิกเฉย และไม่เห็นว่าเป็นปัญหา

การไม่มีวิธีคิดเกี่ยวกับสิ่งนั้นนั่นเองที่เป้นปัญหา

ทั้งๆที่ ปัญหามันแสนสลับซับซ้อนท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสังคมและวัมนาธรรม การศึกษาแนวคิด หรือวิธีการคิดของเด็กเกี่ยวกับปัญหาทางคณิตศาสตร์ จึงเป็นเรื่องที่ชุมชนของเรา geer กันมาตั้งแต่แรก เพือ่จะได้เห็นสิ่งที่เป็นพื้นฐานที่สุดของระบการศึกษา นั้นกคือ วิธีคิดของครูและนักเรียน

การวิจัยทางการศึกษาท่ผ่านมาติดบ่วงตรงนี้มานานมาก เพราะเชื่อและให้ความสำคัญกับคำตอบ แล้วก็ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยมาเป็นตัวเดินเครื่อง แทนที่จะใช้วิธีคิด

การค้นหาองค์ความรู้ทางการศึกษาจึงไช่แค่วนอยู่ในอ่าง แต่จมดิ่งอยู่ใต้อ่างเล็กเสียอีกด้วย

ด้วยความเคารพอย่างสูง....เปลี่ยนซะ..วิธีคิดน่ะ

เจนสมุทร

No comments: