วันเสาร์ที่ผ่านมาคือวันที่ 3 กุมภาพันธ์ มีการสัมมนา ป.เอก เกิดขึ้นมาอีกครั้งหลังจากที่อาจารย์ทราบว่ามันหายไปตั้งแต่อาจารย์ไปญี่ปุ่นตั้งแต่ต้นเดือน พย. อาจารย์ต้องกรให้มันยัวงมีอยู่ ห้ามทิ้ง ซึ่งก็ถือเป็นเรื่องที่ดีอยู่ไม่น้อย แต่พออาจารย์ไม่อยู่ก็อะนะ หายกันไปนิดนึง คราวนี้กลับมาอีกครั้งเริ่มเรียนกันตอน ทุ่ม หนึ่ง ก็สาละวน กันอยู่ไม่น้อย เพราะไม่แน่ใจว่าจะเรียนกันจริงหรือเปล่า เตรียมอะไรต่อมิอะไร แบบฉุกละหุก ก็ได้เริ่มเรียนจริงก็ประมาณ ทุ่ม กว่านิดๆ
paper ที่นำมาสัมมนากันก็อย่างที่ได้วางแผนไว้ตั้งแต่ต้นเทอมแล้วว่าจะเน้นกันที่ methodology paper ที่อาจารย์ให้เราเลือกอ่านกันคนละบทเลยแล้วนำเสนอในห้องสัมมนานี้
โดยในครั้งแรกนี้ก็คือ บทที่ 2 :Trends and Shifts in Resesarch Methods
เขียนโดย Anthony E.Kelly และ Richard Lesh นำเสนอโดยน้องยุ้ย
การสัมมนาครั้งนี้ เหมือนเดิมครับ อ่านละเอียด คำต่อคำ ประโยคต่อประโยค ทิ้งไม่ได้เลย อ่านแล้วจะเห็นว่าเรายัมีวานที่ต้องทำกันอีกเยอะ อย่างที่อาจารย์ว่าไว้จริง ๆ
เริ่มเลยละกัน.....
All scientists choose ,adapt, and create tools appropriate to thier reading of problems and opportunities in thier fields.
นักวิทยาศาสตร์ได้เลือก ปรับและสร้างเครื่องมือให้มีความเหมาะสมกับการเข้าใจปัญหาและโอกาสต่าง ๆ ในสาขาต่างๆ ของเขาเอง
In turn, new or adapted tools can change the questions asked the answers given, leading to new research cycles.
ในทางตรงข้าม เครื่องมืออันใหม่ หรือเครื่องมือที่ปรับขึ้นมา สามารถเปลี่ยนคำถาม และนำไปสู่งวงจรการวิจัยใหม่อีกด้วย
The dialectic between the evolution of tools and the refinement of problems characterizes growth in a field.
สภาวะคู่ตรงข้ามระหว่างการพัฒนาของเครื่องมือและการปรับ หรือการทำให้ปัญหามันชัดเจน อะเอียดประณีตมากยิ่งขึ้นนี้ ก็เป็นตัวกำหนดความเติบโตของสาขานั้น ๆ
เอาสามประโยคนี้ก่อน ทำไมเขาจึงขึ้นต้นบทความนี้ด้วยประโยคนี้ อาจารย์ raise คำถามไว้อย่างน่าสนใจ
การเลือก การปรับ เครื่องมือให้เหมาะสมกับการเข้าใจปัญหา และโอกาสนี้คืออะไร มันเกี่ยวข้องกันได้อย่างไร
การอ่านปัญหาไม่ออก การไม่เห็นโอกาส จะทำให้เราเลือก tools ได้อย่างไรกัน
เพราะแค่เห็นก็ยังทำไม่ได้เลย แล้วจะส้รางเครื่องมือได้อย่างไรกัน เห็นหรือยังละว่าการวิจัยบ้านเรานั้น เราไม่ได้ read it as a problem ไม่มีใครอ่านว่าตรงนี้เป็นปัญหา โอกาสที่จะไปสร้างสังคมอุดมปัญญา (knowledge- based Society) จึงเป็นเรื่องเพ้อฝัน
เรามัวแต่วุ่นวายอยู่กับการสร้งเครื่องมือ โดยปราศจากอ่านปัญหาให้แตก แล้วเราจะไปสร้างโอกาสอะไรให้กับสาขาเราในการพัฒนาความรู้ต่อไปได้ละ อย่างเช่น action research เรายัง read ปัญหาไม่ออกเลย แล้วก็รีบ หรือส้รางเครื่องมือรอไว้แล้ว การidentified ปัญหา ยังอยู่ในระดับที่คิดเอาเองทั้งนั้น
ความหลากหลายมันเป็นเรื่องดี อยู่ แต่ต้องเหมาะกับคนที่รู้จักความหลากหลาย
จริงๆ แล้วเราเรียน math เนี่ย เราเรียนเนื้อหา หรือวิธีคิดกับปัญหา/การมองโลก ?
การสอนไม่ใช่ให้เนื้อหาไปทั้งหมด แต่ต้องสอนเพื่อให้หลงเหลือความสงสัยอยู่ใน process (คำนี้เป็นคำที่อาจารยน์ Shimizu เคยพูดไว้เกี่ยวกับ math process)
เมื่อเชื่อมโยงกับสัมมนาสาขาเมื่อวันที่ 2 กพ 50 ที่เห็นปัญหาจาก textbook คนที่เขียนtextbook ไม่ได้อ่านปัญหา และไม่เข้าใจโอกาสที่จะเกิดขึ้นเลย tools ที่สร้างกันคือ คู่มือครู ก็เป็นผลของการอ่านปัญหาไม่แตก tool ในการวิจัยพัฒนาเรื่อง textbook จึงไปไม่ได้ เพราะไม่เห็นว่าอะไรเป็นปัญหาหรือโอกาสในการเรียนรู้ของเด็ก
วิธีคิดกับทุกสิ่งต้องละเอียดมากพอ ที่จะไปเป็นหลักพึ่งพิงแก่สังคมได้ เมื่อเจออะไรต่างๆ ก็ต้องไม่หวั่นไหวในจุดยืนของตัวเอง และบอกได้ว่าปัญหาของคนนอก field เวบลาที่พูดเรื่องใน field เป็นยังไง
เมื่อเราเปลี่ยนคำถาม เราก็เปลี่ยนคำตอบได้ และก็นำไปสู่ วงจรการวิจัยใหม่ได้ด้วย เมื่อเจอคำนี้ research cycle พวกเราก้เงอะงะ กันไม่น้อย โดยเฉพาะการพูดเรื่องcycle ตามแนวคิดของ Romberg พวกเราที่เรียนก็ต้องวิ่งไปคนละทิศเพื่อไปเอา paper ของ Romberg มาพูด อาจารย์บอกว่า ห้ามอ่านละทิ้งคีแบบนี้ ใช้ไม่ได้ ต้องรู้เลย ว่าแต่ละคำนี่ ใครพูดอะไรไว้ อย่างไร เวลาผ่านไปสักพัก เราก็พอจะได้มีเรื่องพูดแล้ว... สะท้อนใจว่า เราอ่านแบบข้ามกับมันจริงๆ
Thomas A. Romberg, University of Wisconsin, ได้เขียนบทความเรื่อง Perspectives on Scholarship and Research Methods ใน Handbook of Teaching and Learning Mathematics ปี 1992
Romberg ได้นำเสนอ activities of researchers ว่า คำว่า การวิจัยนั้นอ้างไปถึงกระบวนการต่างๆ ที่ไม่อาจจะสัมผัสและเห็นมันได้เหมือนวัตถุ นอกจากนั้นแล้วการทำวิจัยไม่อาจจะมองเห็นว่าเป็นการกระทำในเชิงกลไก หรือ set ของกิจกรรมต่างๆ ที่แต่ละคนจะกระทำตามเป็นขั้นตอน หรือทำเหมือนอย่างคนอื่นทำได้ กิจกรรมการวิจัยติดยึดอยู่กับลักษณะที่เป็นทักษะที่มาจากการลงมือกระทำแบบประติมากรรม(คือต้องมีทักษะ และค่อยๆ ปรับ ค่อย ๆ แต่ง) มากกว่าที่เป็นแบบระเบียบวิธี แต่อย่างไรก็ตามกิจกรรม ตาม list นี้ก็เป็นกิจกรรมทั่วไปที่นักวิจัยทำกัน แต่อาจจะไม่เรียงกันอย่างนี้ก็ได้ ประเด็นสำคัญอยู่ที่การเชื่อมโยงกิจกรรมต่างๆ ของการวิจัยมากกว่า
Research activities
1. Phenomenon of interest
2.Preliminary model
3.Relate to others' ideas
4.Questions or conjectures
5.Select research strategy
6.Select research procedure
7.Gather evidence
8.Interpret evidence
9.Report results
10.Anticipate actions of others
Blog นี้ขอจบตรงก่อน เวลาสำหรับเขียนจะหมดแล้ว จะกลับมาเขียน เรื่องที่เรียนรู้นี้ต่อ ยังมีเรื่องที่ต้องคิดอีกเยอะ อ่านต่อได้ใน episode 2
No comments:
Post a Comment